Friday, March 12, 2010

การลง wordpress ในเครื่องตัวเอง

วันนี้ ผมได้งานจาก Boss มาชิ้นหนึ่ง คือการใช้งาน CMS
ใครที่มือใหม่ (Noob) ก็มาร่วมเรียนรู้กับผมได้ครับ ไม่คิดเงิน...





(โฆษณา) UnitedSME.net Host ราคาถูก High Stability ขอแนะนำให้ลองใช้ มีประกันคืนเงิน30วันครับ

search ใน Google มาโดยใช้ Keyword "การลง wordpress ในเครื่องตัวเอง"

เจอในเสียวบอร์ด (ThaiSEO) กระทู้หัวข้อ: ลงwordpress ในเครื่อง กับลง ใน server จิงๆมันต่างกันยังไงคับ

ได้ reply ที่ทำนายได้แม่นยำจริงๆคือ
"สำหรับมือใหม่ PHP + Mysql ผมอยากแนะนำว่าไม่ต้องไปลง wordpress ในเครื่องหรอกครับ
เดี๋ยวจะ งง เอาปล่าวๆ เอา wordpress มาลงในโฮสเลย และอับเดตผ่านเว็บเอา (อับเดตหมายถึงเพิ่มบทความ,เนื้อหา)ถ้าทำในเครื่องด้วย ในโฮสด้วย รับรอง งง!! แน่นอนครับเพราะว่าไฟล์ config ในโฮสกับในเครื่องมันเรียกฐานข้อมูลต่างกัน ยืนยันอีกครั้งว่าถ้ามือใหม่ไม่ต้องลงในเครื่องเอาขึ้นโฮสเลย ถ้าทำทั้งสองอย่าง งง!! แน่นอน"

เคยลองทำครั้งนึง ลอง download php กับ mySQL มาใช้งาน ปรากฏว่ามันมีปัญหาที่ config จริงๆ
ไอ้ config นี้ผมก็ไม่รู้ว่ามันปรับอะไรอย่างไรครับ ประสบการเคยเล่นแต่ upลงhost โดย FTP เท่านั้น วันนี้ต้องมา setup เครื่องตัวเองเป็นเครื่อง server ก็ งงๆอยู่บ้าง  



วิธีการลงโปรแกรม Appserv และ Wordpress

STEP BY STEP



เอามาจากเว็บ http://bombik.com นะครับ เนื้อหาผมนำมาเรียบเรียงใหม่แล้ว
STEP 1 ๐จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเป็น Web Server เพื่อสร้างเว็บ CMS ใช้ Wordpress
            ๐สร้าง web server โดยใช้ Appserv DOWNLOAD
STEP 2 Install Appserv
Double Click appserve.exe (ตัวที่เรา download มาแหละชื่ออาจไม่เหมือนกัน)
NEXT > I Agree > NEXT > NEXT >
ต่อมา ให้ใส่ Server Name = localhost กับ Administrator's e-mail address = admin@email.com
ตั้ง password = root
จากนั้นกดปุ่ม Install เสร็จแล้วกดปุ่ม Finish

STEP 3  SETUP Appserve
กดปุ่ม START มุมซ้ายล่างของ Windows XP (อื่นๆก็ซ้ายล่าง) > All Programes > AppServ > Control Server by Service
STEP 4 http://localhost

 เปิด Browser ขึ้นมา ของผมใช้ FireFoX นะครับ แล้วพิมพิ์ "http://localhost"
จะขึ้นหน้าจอตามภาพนี้ครับ จากนั้นให้คุณกดที่ phpAdmin Database Manager version xxxx

จะมีช่องขึ้นมาถาม Username ให้ใส่ root password ก็ root

STEP 5 Create database


ตั้งชื่อ Database ซึ่งผมทำ wordpress ก็เลยตั้งชื่อเป็น wordpress กดปุ่ม create เลยครับ

No comments:

Post a Comment